ข้อมูลชุมชน
ประวัติชุมชนบ้านตาไก้
เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่ผ่านมาได้มีชาวบ้านอพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนทำมาหากินบนพื้นที่แห่งนี้ จากครั้งแรกที่มีไม่ถึง5ครอบครัว โดยสภาพพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร ทำให้มีผู้เข้ามาจับจองพื้นที่ทำมาหากิน บ้านตะไก้ ในสมัยก่อนนั้นมีต้นตะไก้ ขึ้นอยู่บริเวณหนองน้ำเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อนามหมู่บ้านว่า “บ้านตะไก้” มีชื่อเรียกในภาษาเขมรว่า “เดือมเวือย” มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 800 ไร่ พื้นเพเดิมของบ้านตะไก้เป็นชาวไทยที่มีภาษาเขมรเป็นภาษาท้องถิ่น ถึงแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะมีพื้นเพเดิมเป็นชาวเขมร ที่พูดเขมรแต่ก็ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนกับประชาชนส่วนใหญ่ของภาคอีสานทั่วไป
ประวัติเจรียงเบริน
ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนบ้านตะไก้ ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาท้องถิ่นส่วนใหญ่ เพราะมีพื้นเพเดิมเป็นชาวเขมรที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม โดยในอดีตนั้นเจรียงเบรินได้รับการนิยมสูงมากที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ โดยถือเป็นการละเล่นของชาวเขมรซึ่งหาชมได้ยากมากในสมัยนั้น เลยได้รับความสนใจจากชาวบ้านจำนวนมากทำให้เกิดการว่าจ้างคณะเจรียเบรินโบราณมาทำการแสดงภายในชุมชนบ้านตะไก้ ไม่ว่าจะเป็นงานศพ งานบุญกระดูก งานกฐิน ผ้าป่า โกนจุก ขึ้นบ้านใหม่ ฉลองศาลา เจรียงเบรินถือว่าเป็นมหรสพที่คนในชุมชนชื่นชอบเพราะเป็นเพลงพื้นบ้านที่ให้คุณค่าในหลายๆด้าน สามารถเลือกคำสรรที่ไพเราะ มีสัมผัสที่เป็นภาษาเขมรแต่ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว เนื้อหาของบทร้องเจรียงสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อประเพณีค่านิยมสังคมและอาชีพด้านต่าง ๆ แบ่งไปด้วยข้อคิดที่หลากหลายเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษจึงทำให้ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุภายในชุมชนบ้านตะไก้ เจรียงเบรินยังคงได้รับความนิยมในการนำมาแสดงภายในชุมชนบ้านตะไก้ ปัจจุบันได้มีเจรียงเบรินรุ่นสืบสานได้ทำการอนุรักษ์ไว้ โดยเจรียงสายสวรรค์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านตะไก้ และเจรียงเบรินภาคภูมิหมู่บ้านเมืองโพธิ์ อำเภอห้วยราชได้มีการไปเรียนกับคุณแม่สายรุ้ง ภูมิสุขศิลปินเจรียงเบรินจังหวัดสุรินทร์และได้เผยแพร่เจรียงเบรินให้เป็นที่รู้จักภายในอำเภอห้วยราชและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีเจรียงเบรินถ้าเป็นที่รู้จักแก่คนในสังคมและอนุรักษ์สืบสานเจรียงเบรินนี้ไว้แล้วให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมประเพณีของชาวเขมรอีสานใต้สืบต่อไป (จุรีพร การรัมย์ , 2563)