Programs
ชื่อปริญญา :
ศิลปศาสตรบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์)
Bachelor of Arts (Library and Information Science)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศ
Bachelor of Arts Program in Library and Information Science
ความสัมพันธ์ (ถ้ามี) กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน
รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/สาขาวิชาอื่น หรือต้องเรียนจากคณะ/สาขาวิชาอื่น
รายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะ/สาขาวิชาอื่น
รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ได้แก่ กลุ่มวิชาภาษา กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์
รายวิชาในหมวดวิชาแกน ได้แก่ รหัสวิชา 2011207 วิชาศิลปะการพูด รหัสวิชา 2500103วิชาวิถีโลก รหัสวิชา 2532202 วิชากระบวนการเสริมสร้างจิตสาธารณะ
รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนให้คณะ/สาขาวิชาอื่น
รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ได้แก่ รหัสวิชา 0001101 วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น และรหัสวิชา 0002406 วิชาการรู้สารสนเทศ
การบริหารจัดการ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดรายวิชา โดยติดต่อประสานงานกับฝ่ายหลักสูตร สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตจะเป็นผู้มีความรู้ ทักษะและความสามารถ ดังนี้
1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานห้องสมุด และแหล่งสารสนเทศ สามารปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ
2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารประยุกต์ใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตในสังคม
3. ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์และสามารถแก้ไขปัญหาให้กับตนเองและผู้อื่นได้
4. มีภาวะผู้นำ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
5. ผลิตบัณฑิตให้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
ทำไมต้องเรียนสาขานี้ ?
สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นในการวางแผนหลักสูตร
สถานการณ์การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศอาเซียน ปี 2563 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียนปี 2563 มุ่งสู่การนำอาเซียนสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้ดิจิทัลอย่างมั่นคงปลอดภัย ยั่งยืนมีความเท่าเทียมทั่วถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถปรับเปลี่ยนได้ อันจะก่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมซึ่งวิสัยทัศน์ดังกล่าวมุ่งสู่การบรรลุประเด็นต่าง ๆ 6 ประเด็น ได้แก่ 1) การนำดิจิทัลไปใช้ โดยเฉพาะการยกระดับให้พลเมืองอาเซียนมีความพร้อมในด้านทักษะดิจิทัล ทักษะสารสนเทศ การใช้แอพพลิเคชั่นและบริการต่าง ๆ 2) ความมั่นคงปลอดภัย ระบบนิเวศไอซีทีที่ปลอดภัยและมั่นคงในภูมิภาคอาเซียน และการสร้าง ความมั่นใจในสภาพแวดล้อมออนไลน์ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านโครงสร้างที่เข้มแข็ง 3) ความยั่งยืน ซึ่งหมายถึง ความยั่งยืนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4) ความสามารถในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคอาเซียน 5) การสร้างนวัตกรรม สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการที่ส่งเสริมการใช้ไอซีทีอย่างสร้างสรรค์และมีแนวคิดเชิงนวัตกรรม 6) ความเท่าเทียมทั่วถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเสริมสร้างพลังเชื่อมโยงภาคประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง
เศรษฐกิจยุคดิจิทัลเป็นเศรษฐกิจระบบฐานความรู้ที่ต้องการทักษะเฉพาะ ซึ่งเป็นทักษะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนยังมีไม่เพียงพอ ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน ปี 2563 จึงมุ่งเน้นถึงการพัฒนาการปรับเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลและพัฒนาความสามารถของมนุษย์ที่จำเป็นต่อการปรับเปลี่ยน รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้
สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
จากวิสัยทัศน์ระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมทั่วถึงในราคาที่เหมาะสม อาเซียนจะกำหนดให้การจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและสารสนเทศ เป็นนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยผ่านการจัดการเรียนการสอนด้านดิจิทัลในสถานศึกษา การเสริมทักษะของประชาชนผ่านศูนย์สารสนเทศชุมชนยุคใหม่ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยจะนำไอซีทีมาใช้เพื่อสนับสนุนโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในสังคม โดยการเปิดโอกาสให้กลุ่มชุมชนชายขอบ ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความเปราะบางทางสังคม สามารถเข้าถึงการพัฒนาในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลได้จากข้อกำหนดของอาเซียนประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและสารสนเทศ การรู้ไม่เท่าทันข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ความเปราะบางทางสังคมจึงสร้างปัญหาทางสังคมให้กับคนไทย
สถานการณ์ด้านความต้องการในการศึกษาและความต้องการของตลาดแรงงงาน
จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสนใจที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ของนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต บัณฑิตหรือนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์) และผลการศึกษา ความสนใจที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ของนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า มีความสนใจศึกษาต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์) ระดับปานกลาง ส่วนความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์) ที่รายงานใน มคอ.7 และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์) ตั้งแต่ปี 2560 – 2562 พบว่า บัณฑิตหรือนักศึกษาชั้นปี สุดท้ายที่ผ่านการเรียนครบทุกรายวิชาในหลักสูตร ภายหลังจากที่ได้ออกไปฝึกงานตามห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศต่างๆ มีความพึงพอใจในหลักสูตรอยู่ในระดับมาก และผู้ใช้บัณฑิตมีความเห็นว่า หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์)มีความเหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงานระดับมาก และ รายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตร มีประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ระดับมากเช่นเดียวกัน โดยหลักสูตรมีการเน้นในเรื่อง การจัดการสารสนเทศ ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ งานเทคนิคห้องสมุด และการจัดการเทคโนโลยี รวมทั้งจากรายงานภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2563 พบว่าบัณฑิตมีงานทำร้อยละ 100 สามารถสะท้อนถึงความต้องการของตลาดแรงงานได้ นอกจากนี้ความสนใจ